วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ชื่อสื่อ  :   ผลไม้แทนค่า


   




บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่  12
 
วันพฤหัสบดี   ที่  13   กุมภาพันธ์   พ.ศ.  2557
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
ทบทวน      คณิตศาสตร์สหรับเด็กปฐมวัย
1. จำนวนและการดำเนินการ  :   การนับ   การเพิ่ม   การลด   เลขฐานสิบ  ยกตัวอย่างเช่น  ปฏิทิน ให้เด็กนำหลอดใสในแก้วถึงสิบหลอดให้นำมามัด 1 กำ แล้วนำมาวางให้เด็กดู เป็นต้น  การแยก    การเรียงลำดับ เช่น จากมากไปน้อย   ฯลฯ  
2.  การวัด  :   ความสูง   ความยาว  โดยอาจใช้เครื่องมือที่ ไม่เป็นทางการ  กึ่งทางการ  และทางการ
3.  เรขาคณิต   :   รูปทรงต่างๆ   ทิศทาง  ระดับ  สูง  ต่ำ
4.  พีชคณิต  :   แบบรูป  เช่น  โด  เร  มี  มี เร โด  โด  เร  มี  ฟา  มี  เร  โด  ต่อไปก็เหมือนกัน
5.  วิเคราะความน่าจะเป็น  :   กระบวนการทางคณิตศาสตร์  เชื่อมโยงจากรูปธรรมเป็นนามธรรม
 
 ก่อนที่เราจะสอนเด็กได้นั้นเราจะต้องสร้างหน่วยการเรียนขึ้นมาก่อน  โดยเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก หรือกำลังเกิดเหตุการณ์ในขณะนั้น มาสอนเด็ก  หลังจากนั้นเราก็นำเนื้อหาที่จะสอนมาเขียนเป็น Map  แล้วเรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหาที่จะสอนทั้งห้าวัน  แล้วคอยนำมาสู่การเขียนแผนในแต่ละวัน
 
นำเสนอแผนพับ

การนำไปใช้
1.  นำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในการเรียนการสอน
2.  สามารถนำสิ่งต่างรอบตัวมาเป็นหน่วยการสอนได้หมด
 
ประเมิน
ประเมินตนเอง  :   สามารถที่จะเข้าใจเนื้อหาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้มากขึ้น แต่ก็มีอีกนิดหน่อย  ที่ก็จะต้องพยายามปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป
 ประเมินเพื่อน  :   เพื่อนทุกคนมีความพยายามและตั้งใจในการทำงานเป็นอย่างมาก มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีการช่วยเหลือกันในการทำงาน
ประเมินอาจารย์  :  อธิบายถึงเนื้อหาสาระและแกนของเนื้อหาให้นักศึกษาได้ละเอียดถี่ถ้วนมาก  ช่วยแนะนำของการทำงานในแต่ละขั้นตอนให้ออกมาดี ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้น



วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  11

วันพฤหัสบดี  ที่  6  กุมภาพันธุ์  พ.ศ.  2557

ความรู้ที่ได้รับ  :  สรุปการเรียนคณิตศาสตร์เป็น แม็บ
และในการเรียนการสอนผู้สอนจะต้องมีเนื้อหาที่จะสอนเป็นอันดับแรก
แล้วสอนสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเขียนเป็น map แตกเป็นเนื้อหาที่จะสอนแล้วกำหนดแต่ละวัน และเด็กมีความสนใจ หรือสอนในสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นเรียบเรียงความสำคัญจากง่ายไปยาก

      ในการเรียนการสอนผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญมากสำหรับเด็กที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับตัวเด็กโดยทางโรงเรียนอาจจะขอความร่วมมือกับผู้ปกครองที่จะส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในเรื่องของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันโดยทำเป็นโบชัวร์ ใบความรู้ที่จะให้ผู้ปกครองทำตามเป็นส่วนรวมในการทำกิจกรรมกับทางโรงเรียน

การนำไปใช้
1.  นำเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก หรือสิ่งที่เด็กสนใจมาเป็นการเรียนการสอนโดยแทรกคณิตศาสตร์ด้วย
2.  ครูและผู้ปกครองสามารถวางแผนการเรียนการสอนร่วมกันได้

ประเมิน  
ประเมินตนเอง  :  สามารถที่จะเข้าใจถึงเนื้อหาที่จะสอนเด็กได้ดี นำมาปรับใช้ได้ในอนาคต
ประเมินเพื่อน :   ทุกคนมีความตั้งใจจะนำเสนอแผนการสอนออกมาให้ดีที่สุด
ประเมินอาจารย์  :   อาจารย์สามารถอธิบายให้ เราเห็นภาพของการทำงาน ในการสอนโดยต้องมีความละเอียดรอบคอบกับการทำงานให้มาก





บันทึกอนุทิน ครั้งที่  10

วันพฤหัสบดี   ที่  30  มกราคม  พ.ศ.  2557

ความรู้ที่ได้รับ  :   นำเสนอแผนการสอนต่อ  ในวันที่  2  3   4   5

วันที่ 2  นำเสนอในเรื่องของลักษณะของไข่
                               
วันที่ 3  นำเสนอเรื่องไก่
                                          


วันที่ 4  นำเสนอประโยชน์และโทษของไก่



วันที่ 5  นำเสนอแหล่งที่อยูอาศัยของไก่




















การนำไปใช้  
1.  เราสามารถนำสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กมาสอนและบูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไปได้
2.  เราสามารถนำในการจัดกิจกรรมมาสอนกับเด็กได้ในอนาคต

ประเมิน     
ประเมินตนเอง  :   ยังไม่เข้าใจกับการเขียนแผนการสอนมากนัก แต่มีความพยายามและทำความเข้าใจสามารถที่จะเขียนแผนออกมาได้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง
ประเมินเพื่อน  :   เพื่อนสามารถนำเสนอกิจกรรมได้ดีและมีสื่อในการสอนได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ประเมินอาจารย์  :   อาจารย์จะใส่ความละเอียดของงานได้เป็นอย่างดีเพื่อให้ นักศึกษาเข้าใจถึงการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น และให้คำแนะนำในการเขียนแผนการสอนละเอียดมากขึ้น