วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ชื่อสื่อ  :   ผลไม้แทนค่า


   




บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่  12
 
วันพฤหัสบดี   ที่  13   กุมภาพันธ์   พ.ศ.  2557
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
ทบทวน      คณิตศาสตร์สหรับเด็กปฐมวัย
1. จำนวนและการดำเนินการ  :   การนับ   การเพิ่ม   การลด   เลขฐานสิบ  ยกตัวอย่างเช่น  ปฏิทิน ให้เด็กนำหลอดใสในแก้วถึงสิบหลอดให้นำมามัด 1 กำ แล้วนำมาวางให้เด็กดู เป็นต้น  การแยก    การเรียงลำดับ เช่น จากมากไปน้อย   ฯลฯ  
2.  การวัด  :   ความสูง   ความยาว  โดยอาจใช้เครื่องมือที่ ไม่เป็นทางการ  กึ่งทางการ  และทางการ
3.  เรขาคณิต   :   รูปทรงต่างๆ   ทิศทาง  ระดับ  สูง  ต่ำ
4.  พีชคณิต  :   แบบรูป  เช่น  โด  เร  มี  มี เร โด  โด  เร  มี  ฟา  มี  เร  โด  ต่อไปก็เหมือนกัน
5.  วิเคราะความน่าจะเป็น  :   กระบวนการทางคณิตศาสตร์  เชื่อมโยงจากรูปธรรมเป็นนามธรรม
 
 ก่อนที่เราจะสอนเด็กได้นั้นเราจะต้องสร้างหน่วยการเรียนขึ้นมาก่อน  โดยเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก หรือกำลังเกิดเหตุการณ์ในขณะนั้น มาสอนเด็ก  หลังจากนั้นเราก็นำเนื้อหาที่จะสอนมาเขียนเป็น Map  แล้วเรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหาที่จะสอนทั้งห้าวัน  แล้วคอยนำมาสู่การเขียนแผนในแต่ละวัน
 
นำเสนอแผนพับ

การนำไปใช้
1.  นำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในการเรียนการสอน
2.  สามารถนำสิ่งต่างรอบตัวมาเป็นหน่วยการสอนได้หมด
 
ประเมิน
ประเมินตนเอง  :   สามารถที่จะเข้าใจเนื้อหาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้มากขึ้น แต่ก็มีอีกนิดหน่อย  ที่ก็จะต้องพยายามปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป
 ประเมินเพื่อน  :   เพื่อนทุกคนมีความพยายามและตั้งใจในการทำงานเป็นอย่างมาก มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีการช่วยเหลือกันในการทำงาน
ประเมินอาจารย์  :  อธิบายถึงเนื้อหาสาระและแกนของเนื้อหาให้นักศึกษาได้ละเอียดถี่ถ้วนมาก  ช่วยแนะนำของการทำงานในแต่ละขั้นตอนให้ออกมาดี ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้น



วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  11

วันพฤหัสบดี  ที่  6  กุมภาพันธุ์  พ.ศ.  2557

ความรู้ที่ได้รับ  :  สรุปการเรียนคณิตศาสตร์เป็น แม็บ
และในการเรียนการสอนผู้สอนจะต้องมีเนื้อหาที่จะสอนเป็นอันดับแรก
แล้วสอนสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเขียนเป็น map แตกเป็นเนื้อหาที่จะสอนแล้วกำหนดแต่ละวัน และเด็กมีความสนใจ หรือสอนในสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นเรียบเรียงความสำคัญจากง่ายไปยาก

      ในการเรียนการสอนผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญมากสำหรับเด็กที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับตัวเด็กโดยทางโรงเรียนอาจจะขอความร่วมมือกับผู้ปกครองที่จะส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในเรื่องของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันโดยทำเป็นโบชัวร์ ใบความรู้ที่จะให้ผู้ปกครองทำตามเป็นส่วนรวมในการทำกิจกรรมกับทางโรงเรียน

การนำไปใช้
1.  นำเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก หรือสิ่งที่เด็กสนใจมาเป็นการเรียนการสอนโดยแทรกคณิตศาสตร์ด้วย
2.  ครูและผู้ปกครองสามารถวางแผนการเรียนการสอนร่วมกันได้

ประเมิน  
ประเมินตนเอง  :  สามารถที่จะเข้าใจถึงเนื้อหาที่จะสอนเด็กได้ดี นำมาปรับใช้ได้ในอนาคต
ประเมินเพื่อน :   ทุกคนมีความตั้งใจจะนำเสนอแผนการสอนออกมาให้ดีที่สุด
ประเมินอาจารย์  :   อาจารย์สามารถอธิบายให้ เราเห็นภาพของการทำงาน ในการสอนโดยต้องมีความละเอียดรอบคอบกับการทำงานให้มาก





บันทึกอนุทิน ครั้งที่  10

วันพฤหัสบดี   ที่  30  มกราคม  พ.ศ.  2557

ความรู้ที่ได้รับ  :   นำเสนอแผนการสอนต่อ  ในวันที่  2  3   4   5

วันที่ 2  นำเสนอในเรื่องของลักษณะของไข่
                               
วันที่ 3  นำเสนอเรื่องไก่
                                          


วันที่ 4  นำเสนอประโยชน์และโทษของไก่



วันที่ 5  นำเสนอแหล่งที่อยูอาศัยของไก่




















การนำไปใช้  
1.  เราสามารถนำสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กมาสอนและบูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไปได้
2.  เราสามารถนำในการจัดกิจกรรมมาสอนกับเด็กได้ในอนาคต

ประเมิน     
ประเมินตนเอง  :   ยังไม่เข้าใจกับการเขียนแผนการสอนมากนัก แต่มีความพยายามและทำความเข้าใจสามารถที่จะเขียนแผนออกมาได้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง
ประเมินเพื่อน  :   เพื่อนสามารถนำเสนอกิจกรรมได้ดีและมีสื่อในการสอนได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ประเมินอาจารย์  :   อาจารย์จะใส่ความละเอียดของงานได้เป็นอย่างดีเพื่อให้ นักศึกษาเข้าใจถึงการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น และให้คำแนะนำในการเขียนแผนการสอนละเอียดมากขึ้น    



 
       

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  9

วันพฤหัสบดี  ที่  23   มกราคม  พ.ศ.  2557

ความรู้ที่ได้รับ

กลุ่มที่ 1  นำเสนอแผนการสอน  หน่วยของไก่
แผนการจัดประสบการณ์

                                                               
         

                         

    

นำไม้ขีดประมาณ 10 อัน นำมาต่อเป็นรูปต่างๆ  แล้วย้ายไม้ขีดตามที่กำหนดเป็นอีกฝั่งหนึ่ง เช่น นำไม้ขีดมาต่อเป็นปลา แล้วให้ย้ายไม้ขีดได้ 3 อันเพื่อต่อเป็นปลาใหม่ เป็นต้น การเล่นนี้จะฝึกทักษะทางสมองการแก้ไขปัญหาจากการเล่น โดยแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มช่วยแก้ปัญหา ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นได้



การนำไปใช้

1.  สามารถนำความรู้ที่อยู่ใกล้ตัวเรามาใช้ในการสอนได้
2.  เราสามารถนำสิ่งของมาเป็นเกมในการเล่นได้

ประเมิน 
ประเมินตนเอง :  ยังไม่เข้าใจในการเขียนแผนมากแต่ก็จะพยายามเข้าใจในการเขียนแผน
ประเมินเพื่อน :  เพื่อนสามรถนำเสนองานได้ดี แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องบาง
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์แนะนำในการเขียนแผนให้ น.ศ. เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และสาระที่สำคัญ
ในการเรียนรู้ และยังช่วยวางการแผนการสอนให้ออกมาสมบรูณ์ 

   

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน   ครั้งที่  8

วันพฤหัสบดี   ที่  16   มกราคม  พ.ศ.  2557

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ให้ทุกคนนำเสนอสื่อ
สื่อของดิฉันชื่อ  :  ผลไม้แทนค่า
จุดประสงค์  :   1.  เพื่อให้เด็กได้รู้จักการแทนค่าสัญญาลักษณ์ด้วยตัวเลข
                       2.  เพื่อให้เด็กได้รู้จักการนับจำนวนของตัวเลขในสัญญาลักษณ์
                       3.  เด็กรู้จักการ  บวก ของตัวเลข 
                       4.  เด็กได้พัฒนาด้านสติปัญญาในการแก้ปัญหา
การดำเนินกิจกรรม  :   โดยครูจะมีรูปผลไม้ที่แทนค่าด้วยตัวเลข และมีเครื่องหมายบวกให้เด็กได้หาผลลัพธ์ของจำนวนตัวเลข ซึ่งจะมีตัวเลขกำกับอยู่

อาจารย์แนะนำว่า  :  ให้นำกระดาษหลังมาตัดเป็นสี่เหลี่ยมให้ใส่รูปภาพและตัวเลข แล้วมีเชือกล้อมเพื่อแสดงให้เห็นถึงการรวมกันของผลไม้

ต่อมาอาจารย์ให้เขียนแผนการสอน
วัตถุประสงค์  :   สิ่งที่เด็กจะเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมของการเรียนการสอนของครูในแต่ละวัน ที่มีเป้าหมายชัดเจนว่าเด็กจะได้อะไรในการทำกิจกรรมนี้
สาระการเรียนรู้  
     ประสบการณ์สำคัญ  :   เราจะส่งเสริมพัฒนาการ การเรียนรู้ของเด็กในด้านใดบ้าง
     สาระที่ควรเรียนรู้  :   เนื้อหาของกิจกรรมที่จัดว่าเด็กควรจะเรียนรู้สิ่งใดบ้าง
กิจกรรมการเรียนรู้  :   ขั้นนำ   ขั้นสอน   ขั้นสรุป
สื่อ  :  สื่อที่ใช้ในการจักกิจกรรม
การวัดและประเมิน  :   ใช้การสังเกตเด็ก  หรือสังเกตพฤติกรรมเวลาทำกิจกรรม
การบูรณาการ  :   สามารถที่จะนำเนื้อหาอืนมารวมกับกิจกรรมดังกล่าวได้

การนำไปใช้
      1.  ในการเรียนการสอนอนาคตสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
      2.  สามารถที่จะวางแผนการสอนได้ดีขึ้นในอนาคต
การประเมิน
ประเมินตนเอง  :   รู้สึกไม่เข้าใจในการเขียนมากนักเท่าที่ควรในตอนแรกหลังจากนั้นก็พยายามทำความเข้าใจให้มากขึ้น
ประเมินเพื่อน  :   ทุกคนสามารถนำเสนอความคิดเห็นของตัวเองได้เป็นอย่างดีและมีความพยายามที่จะเขียนแผนออกมาให้ดี
ประเมินอาจารย์  :   สามารถที่จะให้คำแนะนำในเรื่องที่น.ศ. ไม่เข้าใจ แต่ในบ้างครั้งอธิบายสับสนไปหน่อยเลยทำให้เข้าใจยาก แต่ก็ยังช่วย น.ศ. แก้ปัญหาของงานได้เป็นอย่างดี




วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่ 7

วันพฤหัสบดี   ที่  9  มกราคม  พ.ศ.  2557

ความรู้ที่ได้รับ

นำเสนอ แนวทางการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์

สาระที่ 2  การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิตศาสตร์
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

โดยทั้ง 4 สาระ มีกล่องนมเป็นรูปแบบในการจัดกิจกรรม

สาระที่ 2  การวัด :  สามารถวัดกล่องนมจากบนลง-ล่าง จาก ซ้าย-ขวา  หรืออาจใช้เครื่องมือในการวัด เช่น  ไม้บรรทัด  เชือก  ที่วัดเป็นต้น

สาระที่ 3 เรขาคณิตศาสตร์ :  กล่องนมมีรูปทรงเรขาคณิตที่แตกต่างกันหลายแบบ เช่น  สี่เหลี่ยมผืนผ้า  ทรงกระบอก  ทรงกลม  เป็นต้น

สาระที่ 4 พีชคณิต :  การเปรียบเทียบกล่องนมที่มีขนาดไม่เท่ากัน เช่น  กล่องใหญ่จะมีนมปริมาณที่มาก   กล่องเล็กก็จะมีนมปริมาณที่น้อย  เป็นต้น

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น :  เด็กสามารถบอกได้ว่าใครชอบกินนมรสใดบ้าง และมากน้อยเท่าไร  เช่น นมจืด  นมหวาน

ฝึกการเขียนแผนโดยมีหัวข้อเรื่องที่สอน ประกอบด้วย   ลักษณะ    ส่วนประกอบ  ประโยนช์และโทษ   การดูแลรักษา 

การนำไปใช้

1.  เราสามารถนำสาระการเรียนรู้มาใช้เป็นแผนการเรียนการสอนให้กับเด็กได้และให้เด็กนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2.  เราสามารถนำสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมาจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ได้อาจจะเป็นเศษวัสดุเหลือใช้

ประเมิน       
ประเมินตนเอง  :   สามรถที่จะเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนประสบการณืทางคณิตศาสตร์ได้มากขึ้นและสามารถที่เขียนแผนการสอนได้เข้าใจขึ้น
ประเมินเพื่อน   :    เพื่อสามารถนำเสนอสาระการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีและสามารถเข้าในถึงการเขียนแผนการสอนโดยนำเสนอออกมาได้ดี
ประเมินอาจารย์   :   อาจารย์ให้คำชี้แนะในเรื่องที่ น.ศ. ไม่เข้าใจ แต่บ้างครั้งอธิบายเข้าใจยากไปสัดนิด  อาจารย์ก็มีความพยายามที่จะให้ น.ศ. ทุกคนเข้าใจในเนื้อหาการเรียนการสอน 


วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดี  ที่  2  มกราคม   พ.ศ. 2557

ความรู้ที่ได้รับ

การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กควรจัดสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กให้เป็นทั้งรูปธรรม นามธรรม และการเรียนรู้ที่เด็กเข้าถึงง่ายที่สุดคือ การเล่นการที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วนตนเองที่เด็กสนใจหรือครูเป็นผู้กำหนด ให้เด็กได้ออกแบบตามความคิดของเด็กเองเพื่ิอเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์  จิตนาการของเด็กเอง

ศิลปะมี 6 กิจกรรม ได้แก่

1.  การเล่นกลางแจ้ง
2.  การเล่นเสรี
3.  การเคลื่อนไหว
4.  การเสริมสร้างประสบการณ์
5.  เกมการศึกษา
6.  ศิลปะสร้างสรรค์

กิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม เป็นการส่งสเริมพัฒนาการของเด็กที่จะเสริมคณิตศาสตร์เข้าไปบูรณาการโดยเด็กจะเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ที่จะเชื่อมโยงให้กับเด็กได้เกิดการเรียนรู้ผ่านการเล่นในแต่ละกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ ในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ เช่นการเคลื่อนไหว จังหวะในการนับ 1 2 3 4 5 หรือการเคลื่อนไหวที่มีทิศทาง ช้า เร็ว เวลา เป็นต้น การใช้สัญญาลักษณ์ในการเคลื่อนไหว   เกมการศึกษา  เช่น การจับคู่ตัวเลขกับรูปภาพที่มีจำนวนตรงกับตัวเลข


การนำไปใช้

1.  ในการจัดกิจกรรมเราสามารถนำคณิตศาสตร์มาประยุกต์กับการจัดประสบการณ์ เช่น การเคลื่อนไหว  ศิลปะ เป็นต้น
2.  สามารถสอนให้เด็กรู้จักตัวเลขในการจัดกิจกรรมโดยผ่านการเล่นเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ประเมิน
ประเมินตนเอง :   สามารถที่นำกิจกรรมที่หลากหลายมาบูรณาการเข้าด้วยกันโดยนำคณิตศาสตร์มาสอดแทรกในการจักกิจกรรม
ประเมินเพื่อน :  เพื่อนสามารถที่จะเชื่อมโยงการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์เข้ากับกิจกรรมที่สอดคล้องกับตัวเด็ก
ประเมินอาจารย์ :  อธิบายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ที่จะเชื่อมโยงหรือนำมาบูรณาการกับการจัดกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรม ที่สัมพันธ์สอดคล้องกัน