วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  4

วันพฤหัสบดี    ที่   28     พฤศจิกายน   พ.ศ.    2556

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ทำกิจกรรมศิลปะ   ให้วาดรูปสัตว์ที่มีขา เพื่อให้เด็กมีจิตนาการที่สร้างสรรค์ว่าเราสามารถนับขาสัตว์ได้กี่ขาแล้วนำมาจับคู่ได้กี่คู่โดนการจับคู่กับรองเท้า  จะให้เด็กนับว่ามีกี่ขาและนำมารวมกันได้ว่า  2 ข้างจะเท่ากับ 1 คู่  เป็นต้น

สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์
     เป็นหลักการที่ต้องการปลุกฝังให้เด็กเป็นกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยและเพื่อให้เข้าใจตรงกัน

สาระที่ 1   จำนวนและการดำเนิน

  1. จำนวนนับ
  2. จำนวนนับ  หนึ่ง   สอง   สาม  สี่..... จำนวนเพิ่มทีละหนึ่ง
  3. ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
  4. ตัวเลข เป็นสัญญาลักษณ์
  5. สัญลักษณ์พื้นฐาน เช่น  เลขฮินดู  เลขไทย
  6. จำนวนสองจำนวนมาเปรียบเทียบ จะมีค่ามากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากัน
  7. การเรียงลำดับจากน้อยไปมาก หรือมากไปน้อย
  8. การบอกอันดับ
  9. การรวมจำนวนสองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
  10. การแยกจำนวนจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ

การนำไปใช้
   ครูสามารถนำกิจกรรมให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันของเด็กได้  เช่น  การใช้สัญญาลักษณ์แทนตัวเลข

ประเมินตนเอง :   สามารถที่จะเข้าในเนื้อหาและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้ได้มาก
ประเมินเพื่อน :  เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำงานอย่างสามัคคีและมีส่วนรวมในการแสดงความคิดเห็น
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาสาระในการเรียนให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น



 

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

 
 
สรุป
 
เรื่อง การแทนค่า  - KS1 Numeracy :Teaching Place Value
จากที่ดิฉันได้ดู  ครูจะใช้โต๊ะคณิตศาสตร์และการเดินทางจากโต๊ะสิ่งของเพื่อให้เด็กเห็นภาพในการคำนวณ   โดยให้เด็กมีความพยายามที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์  คือ  ครูจะเขียนตัวเลขแล้วไม่บอกเด็กว่าตัวเลขนั้นคือเลขอะไร แล้วให้เด็กหยิบของที่อยู่โต๊ะสิ่งของมาวางที่โต๊ะคณิศาสตร์ให้ถูกต้อง  และครูยังใช้สัญญาลักษณ์ในการแทนค่า หรือตัวเลข   เช่น   3+2= 5  เป็นต้น  และเด็กได้เล่นบทบาทสมมุติในการย้ายดต๊ะสิ่งของมายังโต๊ะคณิตศาสตร์ที่มีจำนวนตัวเลขมาก  อย่างเช่น   3000  หรือ  2000 ครูก็จะเขียนตัวเลขใหเด็กดู หลังจากนั้นให้เด็กเขียนตามเด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆตามลำดับ


 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
สรุปบทความ
 
ชื่อบทความ  :   เรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านศิลปะ
 
        เมื่อเราพูดถึงศิลปะกับคณิตศาสตร์ หลายคนอาจคิดว่าเข้ากันได้ยาก แต่ในความเป็นจริงแล้วศิลปะมักมีคณิตศาสตร์มาเกี่ยวข้องอย่างมากมาย  และศิลปะยังช่วยให้ความสามารถทางคณิตศาสตร์โดดเด่นได้   ไม่ว่าจะเป็นงานวาดภาพ   งานปั่น  ล้วนสามารถเชื่อมโยงเข้ากับคณิตศาสตร์ได้ทั้งสิ้น  ในการสอนคณิตศาสรต์สำหรับเด็กได้อย่างสนุกสนานนั้นไม่ควรไปกดดัน ค่อยๆเป็นค่อยๆไป
 
ศิลปะช่วยให้เรียนรูจำนวนนับ   ขนาด  และรูปทรง
        ในการวาดภาพศิลปะเด็กสามารถเรียนู้จากการวาดภาพ  เช่น  ต้นไม้ว่ามีกี่ต้น 2 ต้น   ดอกไม้  3  ดอก  เด็กก็จะเรียนรู้ค่าของตัวเลขจะจำนวนนับ  1 2 3  ที่มีอยู่ในรูปภาพตามลำดับ
        และเด็กยังได้เรียนรู้รูปทรงต่างๆที่มีขนาดที่แตกต่างกันออกไป  เช่น   ใหญ่    เล็ก   สี่เหลี่ยม   สามเหลี่ยว  วงกลม  เป็นต้น
 
ศิลปะช่วยให้เรียนรู้มิติสัมพันธ์
        เด็กจะเรียนรู้มิติสัมพันธ์ได้ดีจากงานปั่นมากกว่าภาพวาด เพราะงานปั่นจะมีความกว้าง   ยาว และความลึกหรือความหนา   โดยเด็กที่จะทำงานปั่นได้ดีจะอยู่ใรช่วงอายุ  5-6 ขวบ
 
เมื่อพ่อแม่ไม่เก่งศิลปะ
       พ่อแม่ไม่เก่งศิลปะ จะนำศิลปะมาสอนให้ลูกเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างไร   
  • ย้ำ   เช่น   เมื่อลูกเห็น เลข 3  ที่เราเขียนให้ เขาก็จะรู้ว่าตัวเลขนี่เรียกว่าอะไร พอเขาไปเห็นดอกไม้3 ดอกพร้อมกำกับตัวเลขไว้ข้างๆก็เท่ากับว่าเป็นการย้ำการเชื่อมโยงจำนวนที่สัมพันธ์กับเลข 3
  • ต่อเติม  เด็กจะต้องมีประสบการณืตรงในลักษณะของภาพพอสมควร  เช่น  เมื่อคุณพ่อคุณแม่วาดภาพเท้าสัตว์เด็กสามารถต่อเติมภาพนั้นตามจิตนาการของเขาได้ตามที่เขาเคยได้รับรู้
  • สร้างงานใหม่   ชวนเด็กคิดค้นสิ่งประดิษฐ์   เช่น   การสร้างบ้านหลังเล็กๆอาจจะใช้เศษไม้เล็กๆมาต่อเป็นบ้าน   เป็นต้น
เทคนิคการสอนศิลปะตามวัย
  • อายุ 2-3  ขวบ   ให้ลูกวาดภาพสัก 1 รูป โดยคุณพ่อคุณแม่ค่อยให้คำแนะนำเขานิดๆหน่อยๆ
  • อายุ 3-4  ขวบ    สามรถเพิ่มความยากจากงานศิปละ   เช่น  วาดภาพระบายสี   หรือ ปั่นดินน้ำมัน เป็นรูปสัตว์ต่างๆ  ลูกก็จะเรียนรูการกะ  การคำนวณ  ขนาดของตัวสัตว์  ใหญ่ เล็ก
  • 5  ปีขึ้นไป   เป็นวัยที่ลูกจะเรียนรู้มิติสัมพันธ์ผ่านการปั้นได้ดี เช่น  ให้ลูกร้อยลูกปัดขนาดและสีสันต่างๆ โดยให้ลูกร้อยตามโจทย์ที่กำหนด เช่น ลูกปัดกลมสีแดง = 3 สีฟ้า = 5 สีเขียว =3 ให้ลูกบวกเลขตามลูกปัดที่ร้อยมา เป็นต้น 
     
  •  
 

 
สรูปงานวิจัย  เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้จากกิจกรรมการสาน 
ของ วันดี  มั่นจงดี
 
บทที่ 1  บทนำ
ภูมิหลัง  :   ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวันด้วยกิจกรรมการสาน  กิจกรรมน่าสนใจและสนุกสนานเพลิดเพลินช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับจากกิจกรรมการสาน  ทั้งนี้ให้ครูจัดการเรียนการสอนจากกิจกรรมการสานอยางคุ้มค่า  เหมาะสม  สอดคล้องกับวัย  ความสนใจ  ความต้องการ  และสภาพท้องถิ่น
ความมุ่งหมาย
1.  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังในกิจกรรมการสาน
2.  เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังในกิจกรรมการสาน
ความสำคัญ  : เพื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยอย่างมีความหมายและเกิดประโยชน์  สามารถนำกิจกกรรมการสานไปพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์
ขอบเขต
   ประชากรที่ใช้ในการวิจัย  :  เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง  อายุ 4-5  ปี  ของโรงเรียนวัดนิมมานรดี
    กลุ่มตัวอย่าง  :   เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี   ชั้นอนุบาล 1  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2553ของโรงเรียนวัดนิมมานรดี 
ตัวแปรที่ศึกษา  :   ตัวแปรอิสระ  ได้แก่  การจัดกิจกรรมการสาน 
                    ตัวแปรตาม  ได้แก่   ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
นิยามคำศัพท์
เด็กปฐมวัย  หมายถึง   เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553ของโรงเรียนวัดนิมมานรดี  
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  หมายถึง   การสังเกต  เปรียบเทียบ  การจัดเรียงลำดับ  และการรู้ค่าจำนวน
กิจกรรมการสาน  หมายถึง  การนำวัสดุต่างๆ เช่น ผ้า  ไหมพรม  ริ้บบิ้น จัดกิจกกรมศิลปะสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวัน  โดยสัดาห์ละ 4 วัน แตละกิจกรรมมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นนำ :  ใช้คำถาม  เพลง  นิทาน  คำคล้องจอง  เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีความสนใจและมีความพร้อมในการทำกิจกรรมต่อไป
ขั้นสอน  :   ครูและเด็กศึกษาสื่อร่วมกัน ครูอธิบายวิธีการสานพร้อมสาธิตให้เด็กดู  แล้วให้เด็กลงมือโดยครูจะเดินดูและช่วยเหลือ เมื่อหมดเวลาครูเตือนเด็กเก็บอุปกรณ์และทำความสะอาด
ขั้นสรุป  :   โดยให้เด้กนำเสนอผลงาน สนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ  พร้อมทั้งสรุปความรู้เกี่ยวกับทักษะทางคณิตศาสตร์  คือ  การจำแนกเปรียบเทียบ   การจัดหมวดหมู่  การเรียงลำดับ เด้กได้เรียนรู้หลังจากทำกิจกรรม
 
บทที่ 2   เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของสติปัญญา  :  ความสามารถทางสมองของบุคคลในการเรียนรู้คิดหาเหตุผล ความรู้รอบตัวรู้จักคิด  ตัดสินใจแก้ปัญหา  รู้จักปรับตัวต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
    ทฤษฎีสติปัญญาของเพียเจท์  แบ่งออกเป็น 4  ขั้น
1.  ขั้นประสานสัมผัสและการเคลื่อนไหว
2.  ขั้นความคิดก่อนการปฏิบัติการ
3.  ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม
4.  ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม
    ทฤษฎีสติปัญญาของบรูนเนอร์  แบ่งออกเป็น  3  ขั้น
1.  ขั้นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ
2.  ขั้นการเรียนรู้ด้วยจิตนาการ
3.  ขั้นการเรียนรู้โดยใช้สัญาลักษณ์
ความหมายทักษะทางคณิตศาสตร์  :    ความรู้เบื้องต้นที่เด็กจะได้รับรู้ และมีประสบการณ์  ได้ฝึกการสังเกต  จำแนก  เปรียบเทียบ  การบอกตำแหน่ง  การเรียงลำดับ  การนับ
ความสำคัญ :   คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่สำคัญวิชาหนึ่ง  ที่จะนำไปใช้ชีวิตประจำวันตลอดชีวิตและเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
จุดมุ่งหมาย  :  เพื่อเป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเรียนรู้และทำกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ให้เหมาะสมกับวัย  โยฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต  สามารถแยกหมวดหมู่  จัดหมวดหมู่  ของสิ่งของต่างๆรอบตัวเด็ก  โดยผ่านกิจกรรมต่างๆที่เกิดความสนุกสนานเร้าใจ  เพื่อให้เด็กมีใจรักคณิตศาสตร์
ความหมายของการสาน :  การนำวัสดุที่แปรรูปแล้วนำมาสาน เป็นรูปทรงต่างๆตามกรรมวิธี ในการสานมีหลากหลายรูปแบบมีลักษณะแตกต่างกันตามประโยชน์ใช้สอย
 
บทที่ 3 วิธีดำเนินงานวิจัย
เครื่องมือที่ใช้งานวิจัย
1.  แผนการจัดกิจกรรมการสาน
2.  แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
สถิติการหาคุณภาพของเครื่องมือ  :  ความเที่ยงตรง   IOC
 
บทที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
  หลังจากจัดกิจกรรมการสานของเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดีทั้งดดยรวมและรายด้านทุกด้าน เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า  การเรียงลำดับมากเป็นอันดับแรก  รองลงมา คือ ทักษะการจัดหมวดหมู่  ด้านทักษะการรู้ค่าจำนวน   ส่วนด้านทักษะการเปรียบเทียบ  เด็กปฐมวัยมีความสามารถเป็นอันดับสุดท้าย
 
บทที่  5  สรุปอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
   การจัดกิจกรรมการสานทำให้เกิดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  คือ  ได้ปฏิบัติกิจกรรมเป็นรูปธรรม  เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสานสัมผัสและได้รับประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติกิจกรรม  จึงส่งผลทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ในแต่ละด้าน ได้แก่  การสังเกต  เปรียบเทียบ  การจัดหมวดหมู่   การเรียงลำดับ  การรู้จักค่าของจำนวน  ซึ่งแต่ละด้านมีความแตกต่างกันตาสความสามรถพื้นฐานเดิม
 
 
 

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน   ครั้งที่   3

วันพฤหัสบดี   ที่   21    พฤศจิกายน    2556

ความรู้ที่ได้รับ

เพลงสวัสดียามเช้า

ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า       อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
        กินอาหารของดีมีทั่ว             หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่ คุณพ่อ              ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
ลั่นล้า    ลั่นลา   ลั่นลา ลั่น  ลันลา  ลั่นลา    ลั่นล้า

เพลงนี้สามารถให้เด็กได้เรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ซึ่งอยู่ในกิจวัตรประจำวันของเด็ก
เพลงสวัดีคุณครู

สวัสดีคณุครูที่รัก                               หนูจะตั้งใจอ่านเขียน  
ยามเช้าเรามาโรงเรียน  ( ซ้ำ )           หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย
 
เมื่อเรามาโรงเรียนเด็กก็จะต้องทักทายคุณครู   และเพื่อนๆ ด้วยคำว่า  "สวัสดี "  และเด็กสามารถบอกเวลาในการทักทายได้   เช่น  สวัสดีตอนเช้า    สวัสดีตอนเย็นเป็นต้น



เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน

หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน           อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน           อาทิตย์   จันทร์    อังคาร
พุธ  พฤหัส   ศุกร์     เสาร์
 
 
เพลงนี้เด็กสามารถที่จะบอกได้ว่าวันเวลาที่ผ่านไปนั้นเป็นอย่างไร  และแต่ละปีหรือสัปดาห์นั้นมีกี่เดือน  กี่วันจะต้องทำอะไรบ้าง  
เด็กยังสามารถบอกถึงสัญญาลักษณ์ประจำวันได้   เช่น  หนึ่ง  อาทิตย์   สีแดง   สอง   อังคาร   สีชมพู   เป็นต้น
 
การนำไปใช้
 
สามารถนำกิจกรรมที่ใกล้ตัวเด็ก หรือในชีวิตประจำวันของเด็กนำมาจัดการเรียนการสอนได้ อย่างเช่น   การตื่นนอน  โดยถามเด็กว่าวันนี้ตื่นกี่โมง  แล้วหนูมาโรงเรียนกี่โมงเป็นต้น และจักกิจกรรมในชีวิตประจำวันให้กับเด็ก
 


วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน    ครั้งที่  2

วันพฤหัสบดี     ที่     14     พฤศจิกายน    พ.ศ.   2556

ความรู้ที่ได้รับ

350     158     60       50       4915481

คณิตศาสตร์เป็นการคำนวณ    การเปรียบเทียบ      การนับ ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์   เช่น   เวลา    ระยะทาง     อายุ    น้ำหนัก   ส่วนสูง  เป็นต้น
เด็กจะใช้คณิตศาสตร์ได้ง่ายจากความคิดของตนเอง   แล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณติศาสตร์ถูกต้อง   เรียกว่า   พัฒนาการ

คณิตศาสตร์มีความสำคัญที่ช่วยให้เด็กสามารถที่จะคิดคำนวณ เพื่อให้เด็กเกิดทักษะในการสังเกต  มีการเปรียบเทียบ  และช่วยขยายประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องเป็นลำดับขั้นจากง่ายไปหายาก



การนำไปใช้

  1. สามารถที่นำกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ในการเพิ่มทักษะกระบวนการคิดในการแก้ปัญหาได้ถูกต้อง
  2. การใช้เครื่องหมายแทนตัวเลขในทางคณิศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
บันทึกอนุทิน    ครั้งที่   1

วันพฤหัสบดี    ที่   7     พฤศจิกายน     พ.ศ.   25556

ความรู้ที่ได้รับ

ความหมาย    ความสำคัญ  ของการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-  การจัดประสบการณ์

  • แนวทางการจัดประสบการณ์
  • รูปแบบ
  • สื่อ
  • การประเมินผล
  • ทฤษฎีการสอน
  • จุดมุ่งหมาย
  • กิจกรรม
  • เทคนิค
-   เด็กปฐมวัย

พัฒนาการ  

  • การเปลี่ยนที่เป็นลำดับขั้นอย่าต่อเนื่องโดยพัฒนาการของเด็กมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามลำดับขั้นบันได
  • พัฒนาการเป็นการแสดงออกของพฤติกรรม   เช่น   การกิน     การนั่ง    การเดิน
  • พัฒนาการมี   4   ด้าน   ได้แก่      ร่างกาย     อารมณ์-จิตใจ      สังคม      สติปัญญา
คณิตศาสตร์

  • การนับเลข
  • การคำนวณ
  • เครื่องหมายเรขาคณิต
  • การเรียงลำดับ
  • การจัดหมวดหมู่
  • การเปรียบเทียบ
  • เงิน   เวลา    ระยะทาง
-   การนำไปใช้

  1. สามารถจัดกิจกรรมและประสบการณ์เพื่อให้ตรงกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
  2. นำการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์มาใช้ได้จริงกับเด็กปฐมวัย
ประเมิน

ประเมินตนเอง  :สามารถเข้าเนื่อหาทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ประเมินเเพื่อน : เพื่อสามาถบอกถึงความหมายของคณิตศาสตร์ได้ตามความคิเห็นของตนเอง
ประเมินอาจารย์ :  อธิบายถึงความหมายของเนื้อหาให้เข้าใจมากขึ้น