วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

 
 
สรุป
 
เรื่อง การแทนค่า  - KS1 Numeracy :Teaching Place Value
จากที่ดิฉันได้ดู  ครูจะใช้โต๊ะคณิตศาสตร์และการเดินทางจากโต๊ะสิ่งของเพื่อให้เด็กเห็นภาพในการคำนวณ   โดยให้เด็กมีความพยายามที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์  คือ  ครูจะเขียนตัวเลขแล้วไม่บอกเด็กว่าตัวเลขนั้นคือเลขอะไร แล้วให้เด็กหยิบของที่อยู่โต๊ะสิ่งของมาวางที่โต๊ะคณิศาสตร์ให้ถูกต้อง  และครูยังใช้สัญญาลักษณ์ในการแทนค่า หรือตัวเลข   เช่น   3+2= 5  เป็นต้น  และเด็กได้เล่นบทบาทสมมุติในการย้ายดต๊ะสิ่งของมายังโต๊ะคณิตศาสตร์ที่มีจำนวนตัวเลขมาก  อย่างเช่น   3000  หรือ  2000 ครูก็จะเขียนตัวเลขใหเด็กดู หลังจากนั้นให้เด็กเขียนตามเด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆตามลำดับ


 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
สรุปบทความ
 
ชื่อบทความ  :   เรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านศิลปะ
 
        เมื่อเราพูดถึงศิลปะกับคณิตศาสตร์ หลายคนอาจคิดว่าเข้ากันได้ยาก แต่ในความเป็นจริงแล้วศิลปะมักมีคณิตศาสตร์มาเกี่ยวข้องอย่างมากมาย  และศิลปะยังช่วยให้ความสามารถทางคณิตศาสตร์โดดเด่นได้   ไม่ว่าจะเป็นงานวาดภาพ   งานปั่น  ล้วนสามารถเชื่อมโยงเข้ากับคณิตศาสตร์ได้ทั้งสิ้น  ในการสอนคณิตศาสรต์สำหรับเด็กได้อย่างสนุกสนานนั้นไม่ควรไปกดดัน ค่อยๆเป็นค่อยๆไป
 
ศิลปะช่วยให้เรียนรูจำนวนนับ   ขนาด  และรูปทรง
        ในการวาดภาพศิลปะเด็กสามารถเรียนู้จากการวาดภาพ  เช่น  ต้นไม้ว่ามีกี่ต้น 2 ต้น   ดอกไม้  3  ดอก  เด็กก็จะเรียนรู้ค่าของตัวเลขจะจำนวนนับ  1 2 3  ที่มีอยู่ในรูปภาพตามลำดับ
        และเด็กยังได้เรียนรู้รูปทรงต่างๆที่มีขนาดที่แตกต่างกันออกไป  เช่น   ใหญ่    เล็ก   สี่เหลี่ยม   สามเหลี่ยว  วงกลม  เป็นต้น
 
ศิลปะช่วยให้เรียนรู้มิติสัมพันธ์
        เด็กจะเรียนรู้มิติสัมพันธ์ได้ดีจากงานปั่นมากกว่าภาพวาด เพราะงานปั่นจะมีความกว้าง   ยาว และความลึกหรือความหนา   โดยเด็กที่จะทำงานปั่นได้ดีจะอยู่ใรช่วงอายุ  5-6 ขวบ
 
เมื่อพ่อแม่ไม่เก่งศิลปะ
       พ่อแม่ไม่เก่งศิลปะ จะนำศิลปะมาสอนให้ลูกเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างไร   
  • ย้ำ   เช่น   เมื่อลูกเห็น เลข 3  ที่เราเขียนให้ เขาก็จะรู้ว่าตัวเลขนี่เรียกว่าอะไร พอเขาไปเห็นดอกไม้3 ดอกพร้อมกำกับตัวเลขไว้ข้างๆก็เท่ากับว่าเป็นการย้ำการเชื่อมโยงจำนวนที่สัมพันธ์กับเลข 3
  • ต่อเติม  เด็กจะต้องมีประสบการณืตรงในลักษณะของภาพพอสมควร  เช่น  เมื่อคุณพ่อคุณแม่วาดภาพเท้าสัตว์เด็กสามารถต่อเติมภาพนั้นตามจิตนาการของเขาได้ตามที่เขาเคยได้รับรู้
  • สร้างงานใหม่   ชวนเด็กคิดค้นสิ่งประดิษฐ์   เช่น   การสร้างบ้านหลังเล็กๆอาจจะใช้เศษไม้เล็กๆมาต่อเป็นบ้าน   เป็นต้น
เทคนิคการสอนศิลปะตามวัย
  • อายุ 2-3  ขวบ   ให้ลูกวาดภาพสัก 1 รูป โดยคุณพ่อคุณแม่ค่อยให้คำแนะนำเขานิดๆหน่อยๆ
  • อายุ 3-4  ขวบ    สามรถเพิ่มความยากจากงานศิปละ   เช่น  วาดภาพระบายสี   หรือ ปั่นดินน้ำมัน เป็นรูปสัตว์ต่างๆ  ลูกก็จะเรียนรูการกะ  การคำนวณ  ขนาดของตัวสัตว์  ใหญ่ เล็ก
  • 5  ปีขึ้นไป   เป็นวัยที่ลูกจะเรียนรู้มิติสัมพันธ์ผ่านการปั้นได้ดี เช่น  ให้ลูกร้อยลูกปัดขนาดและสีสันต่างๆ โดยให้ลูกร้อยตามโจทย์ที่กำหนด เช่น ลูกปัดกลมสีแดง = 3 สีฟ้า = 5 สีเขียว =3 ให้ลูกบวกเลขตามลูกปัดที่ร้อยมา เป็นต้น 
     
  •  
 

 
สรูปงานวิจัย  เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้จากกิจกรรมการสาน 
ของ วันดี  มั่นจงดี
 
บทที่ 1  บทนำ
ภูมิหลัง  :   ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวันด้วยกิจกรรมการสาน  กิจกรรมน่าสนใจและสนุกสนานเพลิดเพลินช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับจากกิจกรรมการสาน  ทั้งนี้ให้ครูจัดการเรียนการสอนจากกิจกรรมการสานอยางคุ้มค่า  เหมาะสม  สอดคล้องกับวัย  ความสนใจ  ความต้องการ  และสภาพท้องถิ่น
ความมุ่งหมาย
1.  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังในกิจกรรมการสาน
2.  เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังในกิจกรรมการสาน
ความสำคัญ  : เพื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยอย่างมีความหมายและเกิดประโยชน์  สามารถนำกิจกกรรมการสานไปพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์
ขอบเขต
   ประชากรที่ใช้ในการวิจัย  :  เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง  อายุ 4-5  ปี  ของโรงเรียนวัดนิมมานรดี
    กลุ่มตัวอย่าง  :   เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี   ชั้นอนุบาล 1  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2553ของโรงเรียนวัดนิมมานรดี 
ตัวแปรที่ศึกษา  :   ตัวแปรอิสระ  ได้แก่  การจัดกิจกรรมการสาน 
                    ตัวแปรตาม  ได้แก่   ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
นิยามคำศัพท์
เด็กปฐมวัย  หมายถึง   เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553ของโรงเรียนวัดนิมมานรดี  
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  หมายถึง   การสังเกต  เปรียบเทียบ  การจัดเรียงลำดับ  และการรู้ค่าจำนวน
กิจกรรมการสาน  หมายถึง  การนำวัสดุต่างๆ เช่น ผ้า  ไหมพรม  ริ้บบิ้น จัดกิจกกรมศิลปะสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวัน  โดยสัดาห์ละ 4 วัน แตละกิจกรรมมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นนำ :  ใช้คำถาม  เพลง  นิทาน  คำคล้องจอง  เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีความสนใจและมีความพร้อมในการทำกิจกรรมต่อไป
ขั้นสอน  :   ครูและเด็กศึกษาสื่อร่วมกัน ครูอธิบายวิธีการสานพร้อมสาธิตให้เด็กดู  แล้วให้เด็กลงมือโดยครูจะเดินดูและช่วยเหลือ เมื่อหมดเวลาครูเตือนเด็กเก็บอุปกรณ์และทำความสะอาด
ขั้นสรุป  :   โดยให้เด้กนำเสนอผลงาน สนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ  พร้อมทั้งสรุปความรู้เกี่ยวกับทักษะทางคณิตศาสตร์  คือ  การจำแนกเปรียบเทียบ   การจัดหมวดหมู่  การเรียงลำดับ เด้กได้เรียนรู้หลังจากทำกิจกรรม
 
บทที่ 2   เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของสติปัญญา  :  ความสามารถทางสมองของบุคคลในการเรียนรู้คิดหาเหตุผล ความรู้รอบตัวรู้จักคิด  ตัดสินใจแก้ปัญหา  รู้จักปรับตัวต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
    ทฤษฎีสติปัญญาของเพียเจท์  แบ่งออกเป็น 4  ขั้น
1.  ขั้นประสานสัมผัสและการเคลื่อนไหว
2.  ขั้นความคิดก่อนการปฏิบัติการ
3.  ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม
4.  ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม
    ทฤษฎีสติปัญญาของบรูนเนอร์  แบ่งออกเป็น  3  ขั้น
1.  ขั้นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ
2.  ขั้นการเรียนรู้ด้วยจิตนาการ
3.  ขั้นการเรียนรู้โดยใช้สัญาลักษณ์
ความหมายทักษะทางคณิตศาสตร์  :    ความรู้เบื้องต้นที่เด็กจะได้รับรู้ และมีประสบการณ์  ได้ฝึกการสังเกต  จำแนก  เปรียบเทียบ  การบอกตำแหน่ง  การเรียงลำดับ  การนับ
ความสำคัญ :   คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่สำคัญวิชาหนึ่ง  ที่จะนำไปใช้ชีวิตประจำวันตลอดชีวิตและเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
จุดมุ่งหมาย  :  เพื่อเป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเรียนรู้และทำกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ให้เหมาะสมกับวัย  โยฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต  สามารถแยกหมวดหมู่  จัดหมวดหมู่  ของสิ่งของต่างๆรอบตัวเด็ก  โดยผ่านกิจกรรมต่างๆที่เกิดความสนุกสนานเร้าใจ  เพื่อให้เด็กมีใจรักคณิตศาสตร์
ความหมายของการสาน :  การนำวัสดุที่แปรรูปแล้วนำมาสาน เป็นรูปทรงต่างๆตามกรรมวิธี ในการสานมีหลากหลายรูปแบบมีลักษณะแตกต่างกันตามประโยชน์ใช้สอย
 
บทที่ 3 วิธีดำเนินงานวิจัย
เครื่องมือที่ใช้งานวิจัย
1.  แผนการจัดกิจกรรมการสาน
2.  แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
สถิติการหาคุณภาพของเครื่องมือ  :  ความเที่ยงตรง   IOC
 
บทที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
  หลังจากจัดกิจกรรมการสานของเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดีทั้งดดยรวมและรายด้านทุกด้าน เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า  การเรียงลำดับมากเป็นอันดับแรก  รองลงมา คือ ทักษะการจัดหมวดหมู่  ด้านทักษะการรู้ค่าจำนวน   ส่วนด้านทักษะการเปรียบเทียบ  เด็กปฐมวัยมีความสามารถเป็นอันดับสุดท้าย
 
บทที่  5  สรุปอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
   การจัดกิจกรรมการสานทำให้เกิดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  คือ  ได้ปฏิบัติกิจกรรมเป็นรูปธรรม  เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสานสัมผัสและได้รับประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติกิจกรรม  จึงส่งผลทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ในแต่ละด้าน ได้แก่  การสังเกต  เปรียบเทียบ  การจัดหมวดหมู่   การเรียงลำดับ  การรู้จักค่าของจำนวน  ซึ่งแต่ละด้านมีความแตกต่างกันตาสความสามรถพื้นฐานเดิม
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น